apcommu

LIKE A PRAYER | ชีวิตอยู่ไม่นาน แต่ตำนานจะอยู่กับเธอ Agniva Lahiri วีรสตรีข้ามเพศแห่งอินเดีย (ตอนแรก)

โดย ปกป้อง ชานันท์ ยอดหงษ์ ท่ามกลางการโอกาสที่แตกต่างกันในการเข้าถึงเข้าถึงทรัพยากรของอินเดีย ที่เป็นอีกประเทศหนึ่งที่เต็มไปด้วยความเหลื่อมล้ำ ไม่เพียงแต่สถานะทางเศรษฐกิจวัฒนธรรมวรรณะ หากแต่รวมทั้งเพศสภาพเพศวิถี กลุ่มหญิงข้ามเพศและกะเทยต่างตกอยู่ในสถานะที่แสนลำบาก เสรีภาพในการเลือกเพศสภาพเละเพศสรีระของพวกเธอบางคนต้องแลกด้วยคุณภาพชีวิตและครอบครัวที่เธอเกิดมา เพราะรวมกันเอาอยู่แยกหมู่กะเทยตาย พวกเธอจึงต้องถ้อยทีถ้อยอาศัยเป็นเพื่อนพึ่งพายามยากที่แท้จริง สร้างระบบครอบครัวและบ้านของพวกเธอขึ้นมาเอง เสมือนหลุมหลบภัย เช่นการรวมตัวเป็นกลุ่ม “ฮิจรา” (Hijra) ซึ่งเป็นวัฒนธรรมโบราณนานมาของเอเชียใต้ ใช้เรียกเพศบุคคลที่ไม่ใช่ทั้งชายและหญิง และไม่ใช่รักเพศเดียวกันหรือต่างเพศแบบบรรทัดฐานเพศวิถีตะวันตก แต่ใช้เรียกผู้ที่ตัดอวัยวะเพศชายออกแล้วไว้ผมยาวห่มสาหรีนุ่งชุดสตรี ซึ่งก็ทำให้พวกเธอไม่สามารถจัดวางไว้ในวรรณะใดได้ ฮิจราอยู่รวมกันเป็นชุมชนในบ้านเดียวกันมีการจัดระเบียบลำดับอาวุโสกันภายใน “ครอบครัว” และการ…
Knot
January 2, 2021
apcommu

DRESS YOU UP | คุณูปการมหาศาลอันเผ็ชร้อนของสิ่งเล็กๆ ที่เรียกว่า Cock Ring

โดย อรรถพล เกตุนวม ไอเทมชิ้นนี้เราน่าจะต้องรู้จัก ไม่ว่าจากประสบการณ์จริงหรือจากสื่อสิ่งพิมพ์ ภาพและวิดิโอคลิปต่างๆ เคยใช้ เคยเห็นผ่านตา ผ่านปาก ผ่านตูด ผ่านจู๋กันมาบ้าง โดยตำแหน่งแห่งที่ของเจ้าอุปกรณ์ชิ้นนี้ก็น่าจะรู้กันดีอยู่แล้วว่ามันอยู่แนบชิดกับอาวุธลับประจำกาย ซึ่งเราก็มักจะหยิบมาใช้ในวโรกาสดี ๆ กัน  เพื่อเพิ่มศักยภาพและความสุขสมที่ร้อนแรงยิ่งขึ้น แต่ที่มาและผลข้างเคียงในการใช้นั้นอะไรบ้าง แล้วอะไรคือสิ่งที่ต้องระวัง เรามาค่อยๆ ทำความรู้จักเจ้าห่วงรัดสุดหรรษานี้กันดีกว่า Cock Ring นั้นมีชื่อเรียกได้หลากหลายแบบ ทั้ง Penoscrotal…
Knot
January 2, 2021
apcommu

LIKE A PRAYER | ปาน บุนนาค : เพศของเธอแยกไม่ออกไปจากประวัติศาสตร์สังคม (ตอนที่ 3 – ตอนจบ)

โดย ชานันท์ ยอดหงษ์ ในช่วงสมัยที่ปาน บุนนาค (2485-2434) ตระหนักได้ถึงเพศสภาพของตัวเองและเรียนรู้แสวงหาประสบการณ์ทางเพศ สังคมยังไม่ยอมรับ และปฏิบัติกับเกย์กะเทยราวกับสัตว์ประหลาด พวกเขาและเธอต้องเผชิญแรงเสียดทานทางสังคมเมื่อเป็นตัวของตัวเอง ต้องอยู่พื้นที่เฉพาะ พื้นที่ที่รู้สึกว่ามีค่า ซึ่งนั่นก็คือที่สำหรับ cruising ผับบาร์สถานบันเทิงเฉพาะ ซึ่งก็ไม่ได้มีมากนักเมื่อเทียบกับพื้นที่สาธารณะต่าง ๆ ที่เป็นมิตรกับชายหญิงรักต่างเพศ หากเกย์กะเทยอยู่ไม่ถูกที่ก็มักจะโดนแสดงท่าทีรังเกียจ ดูถูกดูแคลน พูดตอกหน้าให้เจ็บช้ำน้ำใจ  พื้นที่เฉพาะของพวกเธอมีทั้งปลูกสร้างก่อตั้งเพื่อเป็นที่รวมตัวกันโดยเฉพาะเช่นผับบาร์ กระจัดกระจายตามย่านเมืองต่าง ๆ หรือพื้นที่ที่เกย์กะเทยมาชุมนุมกันโดยมิได้นัดหมาย…
Knot
December 14, 2020
apcommu

EXPRESS YOURSELF | จาก “ระเบิดถังขี้” ถึงเหตุผลของคนรังเกียจเกย์ และความอยากกำจัดเกย์ของพวกเขา (ตอนแรก)

โดย ต่อศักดิ์ จินดาสุขศรี  เนิ่นนานมาแล้วที่สังคมไทยภูมิอกภูมิใจพร่ำบอกตนเองว่า แม้จะยังไม่มีกฎหมายรับรองการแต่งงานของคนเพศเดียวกันอย่างเป็นทางการ แต่เราก็เป็น “สวรรค์ของชาว LGBT+” เพราะเป็นสังคมที่เปิดกว้างและให้เสรีภาพกับบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศมากกว่าสังคมอื่นๆ สามารถแสดงออกทางเพศได้โดยไม่ถูกลงโทษทางกฎหมายและความรุนแรง  แต่แทบทุกครั้งที่มีข่าวเกี่ยวกับ LGBT คนนั้นคนนี้เปิดตัวแต่งงานมีแฟน กลายเป็นต้องมีความคิดเห็นล้อเลียน กลายเป็นเรื่องตลกขบขัน หรือแสดงถ้อยคำในดูถูกเหยียดหยาม รังเกียจขยะแขยงอยู่เป็นประจำ  “ระเบิดถังขี้” เป็นอีกคำล้อเลียนเกย์ที่เห็นได้บ่อยจนชินตา ซึ่งไม่เพียงแสดงให้เห็นถึงทัศนคติลึกๆ ที่ลดทอนให้รสนิยมทางเพศของเกย์ให้เป็นเรื่องตลกขบขันเท่านั้น แต่ยังให้ภาพโดยนัยว่าพฤติกรรมทางเพศของเกย์เกี่ยวข้องกับความสกปรก เป็นสิ่งที่ไม่น่าอภิรมย์ และเจือปนไปด้วยความรู้สึกรังเกียจของผู้ที่มองจากภายนอก ทัศนะคติที่ลดทอนให้พฤติกรรมและรสนิยมทางเพศของเกย์เท่ากับความสกปรก/ไม่สะอาด…
Knot
December 10, 2020
apcommu

THIS USED TO BE MY PLAYGROUND | อีสวย!! ดาวโรงเรียนสุดปังปุริเย่แห่งโรงเรียนชายล้วน

โดย อรรถ บุนนาค ความเดิมจากตอนที่แล้ว...ได้เล่าเรื่องถึงเด็กกลุ่มหนึ่งซึ่งถูกขับออกจากโรงเรียนด้วยเหตุผลว่าเป็น LGBTQ หนึ่งในเด็กกลุ่มนั้นซึ่งเติบใหญ่จนเลยวัยกลางคน  กำลังจะเข้าสู่วัยชราแล้วนั้น เรื่องราวของเธอคนนี้มีความน่าสนใจเป็นอย่างมาก ข้าพเจ้าขอเรียกเธอผู้นี้ว่า อีสวย  เนื่องจากเธอมีรูปลักษณ์พักตร์พริ้มเพราพรรณ  มาตั้งแต่เล็กแต่น้อย  จึงไม่เกินเลยที่เพื่อนฝูงจะเรียกเธอว่า “อีสวย” และดูเหมือนเธอก็ภาคภูมิกับความสวยมาตั้งแต่ยังเยาว์  แต่...  มีแต่...แม้เธอจะมีความสวย ที่สวยจริงสวยจัง  ไม่ใช่สวยอยู่ไม่เท่ากับสวย  แต่ความสวยของเธอนั้นเป็นความสวยยุคโบราณ ไม่ได้เป็นพิมพ์นิยมร่วมสมัยที่จะขึ้นเวทีประกวดมิสยูนิเวิร์สไทยแลนด์  หรือก็ไม่สตรองพอส่งฟาดฟันในเวทีคัดเลือกนางแบบ The Face ได้…
Knot
December 3, 2020
apcommu

LIKE A PRAYER | ปาน บุนนาค : เพศของเธอแยกไม่ออกไปจากประวัติศาสตร์สังคม (ตอนที่ 2)

โดย ปกป้อง ชานันท์ ยอดหงษ์ เกย์กะเทยที่เคยใช้ชีวิตช่วงทศวรรษ 1970’s - 80 ‘s ยุคนั้นคงไม่มีใครไม่รู้จัก เกย์กะเทยที่ชื่อ “ปาน บุนนาค” นักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ “สาวสังคม” ที่รักสนุกชอบไปคลุกตามผับตามบาร์ และเซเลบที่มักปรากฎตัวตามสื่อสาธารณะ เธอประกาศเสมอว่า เป็นผู้ชายแต่จิตใจเป็นผู้หญิง และเพศสภาพนี้แหละที่กลายเป็นคาแรคเตอร์ที่โดดเด่นในยุคสมัยนั้น จนถูกเรียกว่า “เกย์ยุคบุกเบิก” 1 ซึ่งเธอก็ได้หอบประสบการณ์ชีวิตและสังคมเกย์กะเทยของเธอเผยแพร่เปิดเผยอย่างฉะฉาน จนแวดวงเกย์การยกย่องให้เป็น…
Knot
November 28, 2020
apcommu

DRESS YOU UP | ทำความรู้จักกับ “Harness” เครื่องกายที่เสริม “ความเป็นชาย” ให้ยั่วเพศ

โดย อรรถพล เกตุนวม อีกหนึ่งภาพจำของความยั่วยวนของชายรักชาย ที่สามารถพบเห็นได้ทั้งในงาน Pride และ Party ก็คือสายรัดร่างที่เรารู้จักกันในนามว่า Harness เรื่องราวความเป็นมามันเกิดขึ้นได้อย่างไร แล้วทำไมชาวเราหลายคนถึงได้ชื่นชอบไอเทมชิ้นกันเป็นอย่างมาก มันเป็นไอเทมที่ดูจะเป็นบลัฟ ทำให้คนที่สวมใส่ดูลุค Hot Guy เผ็ดร้อนเหมือนส่งอาหารแล้วบอกแม่ค้าว่า ป้าขอเพิ่มพริกอีก 10 เม็ด!! โดยสายรัดร่าง (Harness) นั้นเริ่มปรากฏในประวัติศาสตร์ชาติเกย์มาตั้งแต่สมัยหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยตอนแรกนั้นถูกจัดเป็นหนึ่งในไอเทมของกลุ่มเกย์ที่รักเครื่องหนัง…
Knot
November 25, 2020
JUSTIFY MY LOVE | หาทำตีความใหม่กฎหมายสมรส : เพราะสมรสเพศเดียวกันไม่ขัดต่อศีลธรรมประชาชนapcommu

JUSTIFY MY LOVE | หาทำตีความใหม่กฎหมายสมรส : เพราะสมรสเพศเดียวกันไม่ขัดต่อศีลธรรมประชาชน

โดย วิริยะ ก้องศิริวงศ์ ในช่วงที่ผ่านมาหลายคนคงเคยได้ยินการผลักดันร่างกฎหมายเกี่ยวกับการสมรสอยู่ 2 ฉบับ คือร่างพ.ร.บ. แก้ไขประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1448 และอีกฉบับคือ ร่าง พ.ร.บ.คู่ชีวิต ซึ่งหลายคนอาจยังสงสัย หรือสับสนอยู่ว่า ในเมื่อมีการผลักดันตัวร่าง พ.ร.บ. คู่ชีวิตแล้ว เพราะเหตุใดจึงจะยังจะต้องมีการแก้ไขประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งดูเป็นเรื่องใหญ่กว่าในการออกพ.ร.บ ซึ่งเป็นกฎหมายพิเศษเฉพาะเรื่องในกรณีนี้ไป และปัญหาคืออะไรบ้าง? ทางผู้เขียนขออนุญาตหยิบยกในประเด็นทางด้านกฎหมายเพื่อให้ทุกคนเข้าใจในปัญหากรณีดังกล่าวในเรื่องของสายตาของการสมรสในทางกฎหมาย ต้องทำความเข้าใจกันก่อนว่า ประเทศไทยนั้นเป็นประเทศที่ใช้กฎหมายในระบบประมวลกฎหมาย…
Knot
November 21, 2020
LIKE A PRAYER | ปาน บุนนาค : เพศของเธอแยกไม่ออกไปจากประวัติศาสตร์สังคม (ตอนที่ 1)apcommu

LIKE A PRAYER | ปาน บุนนาค : เพศของเธอแยกไม่ออกไปจากประวัติศาสตร์สังคม (ตอนที่ 1)

โดย ปกป้อง ชานันท์ ยอดหงษ์ ในอดีตที่ความหมายเพศสภาพเกย์และกะเทยยังถูกใช้เหลื่อมซ้อนกัน และพวกเขาและเธอต้องเผยร่างพรางกายแบบลักปิดลักเปิด น้อยคนนักที่จะกล้าหาญชาญชัยเปิดเผยตัวตนรสนิยมของตนเองบนที่สาธารณะ ประกาศกร้าวอย่างฉะฉานว่าฉันชอบเพศเดียวกันหรือฉันเป็นผู้หญิงในเพศสรีระชาย แต่ปาน บุนนาค คือหนึ่งในนั้นของยุค เธอจึงเป็นที่รู้จักของสังคมทั้งในและนอกชุมชนเกย์กะเทยช่วง 70’s - 80’s เปรียบเสมือนดาวดวงเล็ก ๆ กระพริบแสงรำไรในคืนฟ้าปิด ปาน บุนนาคเกิดเมื่อวันที่ 16 เมษายนปี 2485 ในครอบครัวขุนนางในรั้วในวัง เธอเป็นลูกของพระยาชัยสุรินทร์…
Knot
November 15, 2020
Express Yourself | จูดิธ บัตเลอร์, การปฏิวัติทางเพศด้วย ‘เพศสภาพ’, และขบวนการปฏิกิริยาโต้กลับapcommu

EXPERSS YOURSELF | จูดิธ บัตเลอร์, การปฏิวัติทางเพศด้วย ‘เพศสภาพ’, และขบวนการปฏิกิริยาโต้กลับ

โดย ต่อศักดิ์ จินดาสุขศรี อย่างที่ทราบกันทั่วไปว่า หนึ่งในนวัตกรรมทางความคิดที่สำคัญของฝ่ายสตรีนิยมและขบวนการต่อสู้เพื่อความเสมอภาคทางเพศในโลกตะวันตก คือการแยกความต่างระหว่าง ‘sex’ หรือ ‘เพศสรีระ’ อันหมายถึงเพศในแง่มุมทางชีววิทยาของร่างกาย เช่น อวัยวะที่เกี่ยวข้องกับระบบเจริญพันธุ์ ออกจากคำว่า ‘gender’ หรือเพศสภาพ อันหมายถึงเพศในแง่มุมที่เกิดจากการประกอบสร้างทางสังคมและวัฒนธรรม เช่น ความเป็นชายและความเป็นหญิง  เนื่องจากสมัยก่อน เมื่อผู้หญิงพยายามลุกขึ้นมาเพื่อเรียกร้องความเสมอภาคทางเพศ ก็มักวิ่งเข้าชนกับเพดานทางความคิดของสังคมชายเป็นใหญ่ ที่อธิบายว่าความแตกต่างทางเพศเป็นเรื่อง ‘ธรรมชาติ’ การที่ผู้ชายแข็งแรงกว่าผู้หญิงโดยธรรมชาติย่อมทำให้ผู้ชายอยู่เหนือกว่า และเมื่ออะไรที่เป็น…
Knot
November 9, 2020